10 เหตุการณ์ โศกนาฏกรรมลูกหนังที่เราไม่เคยลืม มีอะไรบ้าง…


เรื่องเศร้าสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ในทุกวงการ ทุกอาชีพ แม้แต่วงการลูกหนัง ซึ่งการเกิดโศกนาฏกรรม แต่ละครั้งเจ็บปวดรวดร้าว ต่อผู้ที่เกี่ยวข้อง และผู้ที่ได้รับรู้ เรื่องของ 10 เหตุการณ์ โศกนาฏกรรมลูกหนังที่เราไม่เคยลืม กำลังจะถ่ายทอดถึง เหตุการณ์ต่างๆ เพื่อให้เราได้ระลึกถึงการเสียชีวิตเคารพ ไว้อาลัย และเป็นอุทาหรณ์ ต่อไปในอนาคต


1.สนาม เฮย์เซล สเตเดียม ,บรัสเซล ประเทศ เบลเยี่ยม

โศกนาฏกรรมลูกหนังที่เราไม่เคยลืม

ยูโรเปี้ยนคัพ ในศึกระหว่าง ลิเวอร์พูล และ ยูเวนตุส เดือนพฤษภาคม 1985 ได้เกิดเหตุไม่คิดฝันขึ้นเมื่อ แฟนบอลฮูลิแกน ของทั้งสองทีมเกิดกันทะเลาะกัน และทั้งสองฝ่ายนั้นมีเพียงรั้วโซ่บางๆ ที่กั้นเอาไว้ เมื่อเกมได้เริ่มขึ้น สิ้นเสียงนกหวีดของกรรมการ คล้ายกับว่าเป็สัญญาณแห่งการสูญเสีย แฟนบอลของหงส์แดงพุ่งเข้าชาร์จฝ่ายแฟนบอลยูเวนตุส เกิดความโกลาหลไปทั้งสนาม จนทำให้กำแพงกั้นภายในสนามถล่ม เกิดการนองเลือดอย่างที่ไม่มีใครคาดคิดมีผู้เสียชีวิต 39 คน เหตุการณ์เป็นบทเรียนอย่างมากเรื่องของการป้องกัน และความปลอดภัยในสนาม โดยทางฟีฟ่าได้ตัดสิทธิ์ให้สโมสรจากลีกอังกฤษทุกทีมหมดสิทธิ์ลงเล่น ยูโรเปี้ยนคัพ เป็นเวลา 5 ปี และทีม ลิเวอร์พูล ถูกห้ามลงแข่งถ้วยนี้ถึง 6 ปี นี่คือประวัติศาตร์ที่ไม่น่าจดจำ แต่เชื่อว่ามันจะกลายเป็นบทเรียราคาแพงที่ล้ำค่า


2. สนาม เคย์เซรี่ อาตาเติร์ก สเตเดียม ,เคย์เซรี่ ประเทศ ตุรกี

โศกนาฏกรรมลูกหนังที่เราไม่เคยลืม

เกิดหายนะอย่างน่าเศร้าเมื่อเดือนกันยายน 1967 ในประเทศตุรกี ในเกมระหว่าง เคย์เซรี่สปอร์ VS ซีวาสสปอร์ เมื่อจบครึ่งแรก แฟนบอลของทั้งสองทีมเกิดการปะทะกันหน้าสนาม และทั้งสองฝ่ายต่างมีอาวุธครบมือ ไม่มีใครสามารถหยุดเหตุการณ์นี้ได้ เจ้าหน้าที่ต้องปล่อยทุกอย่างหยุดเอง เมื่อถึงตอนจบของหนังแอคชั่นฟอร์มยักษ์ มี 40 ชีวิตที่ถูกสังเวย เพราะความบ้าเลือด และทะนงในศักดิ์ศรี และกลายเป็นเหตุการณ์โศกนาฏกรรมครั้งใหญ่ที่สุดใน ซุปเปอร์ ลีก


3. สนาม เอลลิส ปาร์ค สเตเดียม ,โยฮันเนสเบิร์ก ประเทศ แอฟริกาใต้

โศกนาฏกรรมลูกหนังที่เราไม่เคยลืม

ถือเป็นบทเรียนครั้งครั้งสำคัญของ ในเรื่องของการป้องกัน และการควบคุมของเจ้าหน้าที่ เมื่อเดือนเมษายน 2001ในเกมใหญ่ของประเทศ ตช์ระหว่าง ไกเซอร์ ชีฟ กับ ออแลนโด ไพเรท ระหว่างที่ไกเซอร์ ชีฟ ขึ้นนำจนใกล้จะหมดครึ่งแรก ทีม ออแลนโด ไพเรท ได้ยิงตีเสมอ ทำให้เหล่าแฟนบอลที่อยู่ข้างนอกกว่า 30,000 คนไม่เชื่อในผลสกอร์และต้องการเข้ามาในสนามเพื่อให้เห็นกับตา แต่สนามแห่งนี้จุคนได้เพียง 60,000 เท่านั้น และที่นั่งก็เต็มกันหมดแล้ว ส่งผลให้มีการเหยียบกันในช่วงชุลมุน จนทำให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน่าเศร้ามากถึง 43 คน


4. สนาม แบรดฟอร์ด ซิตี้ สเตเดียม ,แบรดฟอร์ด ประเทศ อังกฤษ

โศกนาฏกรรมลูกหนังที่เราไม่เคยลืม

เหตุการณ์ไปไหม้ครั้งใหญ่ที่ทำให้หลายคนไม่เคยลืม เมื่อเดือน พฤษภาคม 1985 สนาม แบรดฟอร์ด ซิตี้ สเตเดียม ของทีมแบรดฟอร์ด ในเกมที่เจอกับ ลินคอร์น ซิตี้ พวกเขาเพิ่งจะได้เลื่อนชั้นขึ้นมาเล่นในดิวิชั่น 2 ทำให้แฟนบอลต้องการเฉลิมฉลอง และแสดงความยินดี แต่ดูเหมือนว่าจะเลยเถิดจนเกินไป เมื่อมีแฟนบอลบางคนพยายามจุดดอกไม้ไฟ จนทำให้เกิดเหตุเพลิงไหม้ และลานไปถึงส่วนของชั้นที่นั่งของเหล่าแฟนบอล เกิดความโกลาหล หลายคนพยายามเอาชีวิตรอด และหลายคนพยายามที่จะดับไฟ สุดท้ายไม่มีสิ่งมีชีวิตใดเหลืออยู่ในกองเพลิง เมื่อเพลิงสงบ เราจึงพบร่างที่ไหม้เกรียมของผู้เสียชีวิต 56 ราย เรื่องราวที่น่าเสริมอันเกิดจากความประมาท กลายเป็นกฎบัญญัติที่ร้ายแรงของฟีฟ่าเรื่องการจุดไฟในสนามในปัจจุบัน


5. สนาม อิบรอกซ์ สเตเดียม ,กลาสโกว ประเทศ สกอตแลนด์

โศกนาฏกรรมลูกหนังที่เราไม่เคยลืม

ระหว่างที่ผมได้ทราบถึงเหตุการณ์นี้ ผมยกให้เป็นเหตุการณ์โศกนาฏกรรมที่สะเทือนใจมากที่สุด เนื่องจากมีผู้เสียชีวิต 66 ราย และมี 5 รายเป็นเพียงเด็กตัวเล็กๆ เท่านั้น ในเดือน มกราคม 1971  เมื่อศึกใหญ่ระหว่าง เรนเจอรส์ ซึ่งเป็นเจ้าบ้าน ต้อนรับการมาเยือนของทีม เซลติก แฟนบอลทั้งสองทีมต่างเข้ามาเชียร์กันจนเต็มที่นั่ง 80,000 คน ด้วยผลสกอร์ที่ดูเหมือนว่า เรนเจอรส์ จะพ่ายแพ้ เพราะว่าในช่วงใกล้หมดเวลาพวกเขาถูกนำอยู่ 1 ลูก ทำให้แฟนบอลของทีม เรนเจอรส์ ต่างทยอยกันเดินออกจากสนาม แต่แล้วเสียงนกหวีดสัญญาณแห่งหายนะก็ได้ดังขึ้น มันคือเสียงการเป่านกหวีดการยิงประตูของทีม เรนเจอรส์ ทำให้พวกเขากลับมาตีเสมอในช่วงเวลาทดเจ็บ เหล่าแฟนบอลของทีมเรนเจอรส์ ที่ได้ยินต่างรีบวิ่งกรูกลับเข้ามาในสนาม จนส่งผลให้มีกันเหยียบกันตายมากมาย และเคราะห์ร้านที่เด็กตัวเล็กไม่สามารถทนแรงปะทะของผู้ใหญ่ได้ พวกเข้าทั้ง 5 คนจะไม่มีโอกาสได้ดูฟุตบอลอีกต่อไปแล้ว


6. สนาม ลูซนิกิ ,มอสโคว์ ประเทศ รัสเซีย

โศกนาฏกรรมลูกหนังที่เราไม่เคยลืม

ในเดือน ตุลาคม ปี 1982 ช่วงนั้นประเทศ รัสเซีย ยังปกครองด้วยระบบคอมมิวนิสต์ เราจึงได้รู้เรื่องราวเหตุการณ์ครั้งนี้ ในอีก 7 ปีต่อมา และเชื่อว่าตัวเลขของผู้เสียที่ประกาศว่าเสียชีวิต 67 ราย แท้จริงแล้วอาจมากถึง 340 ราย

ในเกมยูฟ่า คัพ เอฟซี สปาร์ตัก เปิดบ้านต้อนรับ เอชเอฟซี ฮาร์เลม ผลสกอร์เป็นที่น่าพอใจสำหรับเจ้าเพราะว่านำอยู่ 1 ประตูจนใกล้หมดเวลา ทำให้แฟนบอลทุกคนต่างคิดว่าตัวเองชนะแน่นอน และทะยอยกันเดินออกจากสนาม แต่แล้วก็มีเสียงนกหวีดดังขึ้นพร้อมกับการประกาศว่า เอฟซี สปาร์ตัก ยิงประตูเพิ่มได้อีก 1 ลูก ทำให้แฟนบอลทั้งหมดอยากรีบเข้าร่วมแสดงความดีใจกับทีมของตัว ทำให้หลายคนถูกปะทะ และไม่สามารถต้านทานแรงเอาไว้ ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตซึ่งประกาศอย่างเป็นทางการ 67 คน แต่ตัวเลขที่แน่นอนไม่มีการยืนยัน


7. สนาม พอร์ท เซด ประเทศ อียิปต์

โศกนาฏกรรมลูกหนังที่เราไม่เคยลืม

ประเทศ อียิปต์ เดือน มกราคม 2012 เพิ่งมาได้ไม่กี่ปี ณ สนาม พอร์ท เซด อัล มาซรี่ เจอกับทีม อัล อาลี่ เหตุการณ์อันน่าสะเทือนใจครั้งนี้ได้เกิดขึ้นเมื่อ สิ้นเสียงนกหวีด แฟนบอลของทั้งสองทีมต่างกรูเข้ามาทำร้ายกันอย่างบ้าคลั่งพร้อมอาวะครบมือ ทำให้มีผู้เสียชีวิตมากถึง 79 คน และถือว่าเป็นโศกนาฎกรรมครั้งของวงการฟุตบอลอียิปต์


8. สนาม ฮิลส์โบโร่ ,เชฟฟิลด์ ประเทศ อังกฤษ

โศกนาฏกรรมลูกหนังที่เราไม่เคยลืม

เหตุการณ์อันน่าเศร้าได้เกิดขึ้นอีกครั้งที่ประเทศอังกฤษในปี 1989 เดือน เมษายน ในศึกเอฟเอ คัพ รอบรองชนะเลิศ และครั้งนี้ก็เป็นทีม ลิเวอร์พูล อีกแล้วแต่ครั้งนนี้เป็นอุบัติเหตุที่เกิดจากความประมาทของสภาพสนาม ฮิลส์โบโร่ ทีม น็อตติ้งแฮม ฟอเรสต์ เมื่อมีแฟนบอลจำนวนมากเข้ามาชมการแข่งขัน คาดว่ามีมากกว่า 100,000 ซึ่งเกินความจุของสนาม ทำให้อัฒจันทร์ไม่สามารถรับน้ำหนักได้ ส่งผลให้เกิดการถล่มลงมาจนมีผู้บาดเจ็บจำนวนมาก และมีการประกาศจำนวนผู้เสียชีวิตมากถึง 96 ราย


9. สนาม แอคร่า สปอร์ต สเตเดียม ,แอคร่า ประเทศ กาน่า

สองทีมใหญ่ที่ประสบความสำเร็จสูงสุดในลีก กาน่า พวกเขาได้โคจรมาพบกันที่ สนาม แอคร่า สปอร์ต สเตเดียม โดยเจ้าบ้าน แอคร่า ฮาร์ท ได้ต้อนรับการมาเยือนของทีม อาซานต์ โกโตโก้ เมื่อเป็นการแข่งขันนัดสำคัญทำให้มีแฟนบอลจำนวนมหาศาลเข้าร่วมชมการแข่งขัน ทำให้ไม่สามารถควบคุมได้ เมื่อพวกเขาส่วนหนึ่งไม่พอใจการตัดสินของกรรมการ จนเกิดการปาขวด แก้ว และสิ่งของลงในสนาม ทำให้เจ้าหน้าที่ต้องเข้าระงับเหตุด้วยการยิงแก๊สน้ำตาใส่กลุ่มคน ส่งผลให้เกิดความแตกตื่น และพยายามหนีจากกลุ่มแก๊ส จนมีผู้เสียชีวิตมากถึง 127 คน


10. ลิม่า ฟุตบอล สเตเดียม ,ลิม่า ประเทศ เปรู

โศกนาฏกรรมลูกหนังที่เราไม่เคยลืม

นี่คือเหตุการณ์โศกนาฏกรรมครั้งใหญ่ในประวัติศาสตร์ลูกหนัง เพราะว่ามีผู้เสียชีวิตมากถึง 328 คน ในเดือนพฤษภาคม 1964 หายนะครั้งยิ่งใหญ่ได้เกิดขึ้นในประเทศเปรู ในเกม รอบคัดเลือกโอลิมปิค เมื่อเจ้าบ้านเปรู พบกับทีม อาร์เจนติน่า และทางเปรูถูกนำอยู่ 1 ลูก จนถึงช่วงใกล้หมดเวลา พวกเขาสามารถตีเสมอได้สำเร็จ ให้แฟนบอลบางส่วนไม่พอใจ และเริ่มขว้างปาสิ่งของ จนเจ้าหน้าที่ต้องเข้าระงับเหตุโดยการยิงแก๊สน้ำตา หลายคนพยายามหลบหนีออกจากสนาม แต่ว่าประตูปิดล็อคอัตโนมัติ เนื่องจากระบบรักษาความปลอดภัย ทำให้ไม่มีใครสามารถออกไปได้ จนเกิดความโกลาหล จนมีผู้เสียชีวิตมากที่สุดในวงการลูกหนัง 328 คน

คุณอาจสนใจบทความต่อไปนี้ : 10 เว็บแทงบอลออนไลน์ ยอดนิยม 2017